01สาระน่ารู้เพื่อผู้สูงเวัย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ใช้ชีวิตบั้นปลาย ให้ห่างไกลโรค

    

ชีวิต เป็นสิ่งสำคัญสำหรับเราทุกๆ คน ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะอยู่ในช่วงวัยใดของชีวิต ก็ควรดูแลรักษาสุขภาพร่างกาย และจิตใจให้ดีอยู่เสมอ ก็จะส่งผลให้คุณมีชีวิตที่ยืนยาว และชีวิตในบั้นปลายของคุณก็จะมีความสุขได้

ผู้สูงอายุมักเจ็บป่วยบ่อย และสุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง ทั้งนี้เพราะความเสื่อมของร่างกายตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น และความเสื่อมที่คุณได้กระทำต่อร่างกายของคุณเอง เช่น การไม่ออกกำลังกาย การทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย การไม่ระมัดระวังในการใช้ชีวิต เป็นต้น ซึ่งการป้องกัน และข้อควรปฏิบัติของผู้สูงอายุ มีดังนี้


1. หมั่นตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ
ความดันโลหิตเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ และมีผลต่อสุขภาพของผู้สูงอายุอย่างมาก ซึ่งความจริงแล้ว ผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ก็ควรตรวจวัดความดันสม่ำเสมอได้แล้ว และวิธีที่ดีที่สุดในการที่จะทำให้ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ นั่นคือ หมั่นทำอารมณ์ให้แจ่มใส มีภาวะทางอารมณ์ที่คงที่ และมองโลกในแง่บวก


2. ทานอาหารที่ดี
ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด และอาหารมันๆ เช่น กะทิ เนื้อสัตว์ติดมัน รวมถึงน้ำตาลด้วย เพราะจะทำให้ระดับไขมันในเลือดเพิ่มขึ้นได้ และอาจทำให้เป็นโรคเบาหวาน โรคไต ตามมาได้อีก


3. ควบคุมน้ำหนักตัว
ผู้สูงอายุหลายท่านมักคิดว่าตนอยากใช้ชีวิตบั้นปลายอย่างมีความสุข จึงไม่สนใจที่จะควบคุมน้ำหนัก และทานสิ่งที่อยากทานอย่างไม่ระมัดระวัง ซึ่งลูกหลานก็พลอยเห็นดีเห็นงามด้วย แท้จริงแล้ว ผู้สูงอายุควรควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ เพราะอาจทำให้เป็นโรคอ้วน ไขมันอุดตันเส้นเลือด เบาหวาน โรคไต ความดันโลหิตสูง เป็นต้น


4. หยุดสร้างความเสื่อมให้ร่างกาย
เช่น นอนพักผ่อนให้เพียงพอ งดสูบบุหรี่ งดดื่มสุรา หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีมลพิษ หรือเป็นคนอารมณ์ร้อน อ่อนไหวง่ายต่อสถานการณ์รอบข้างซึ่งส่งผลต่ออารมณ์ สิ่งเหล่านี้ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรมและสุขภาพจิตไม่ดี


5. ออกกำลังกาย
แม้จะอยู่ในวัยสูงอายุ แต่ก็ต้องออกกำลังกายเช่นกัน เพื่อสร้างความกระฉับกระเฉง สดชื่นให้กับร่างกาย การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุนั้น ควรเป็นการเดินเร็ว วิ่งเหยาะๆ หรือการปั่นจักรยาน ซึ่งควรออกกำลังกายประมาณ 15-20 นาที อย่างน้อย 3-6 ครั้งต่อสัปดาห์

แม้จะอยู่ในวัยสูงอายุ แต่หากคุณหมั่นดูแลร่างกาย และจิตใจให้ดีอยู่เสมอ คุณก็จะมีอายุยืนยาว และมีสุขภาพที่แข็งแรง เหมือนได้ย้อนวัยไปถึง 10 ปีเลยทีเดียว

 

 

 

โรคประจำตัวต่างๆ กับการออกกำลังกาย

 

    

 



เป็นที่ทราบกันดีว่า แม้จะอยู่ในช่วงวัยสูงอายุ หรือมีโรคประจำตัว ก็ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเช่นเดียวกัน วันนี้เราจึงมีแนวทางการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวต่างๆ มาฝากค่ะ

โรคหัวใจ    
กีฬาและการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจคือ เดิน รำมวยจีน ปั่นจักรยาน กรรเชียงเรือ เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ว่ายน้ำช้าๆ เดินในน้ำ กอล์ฟ สกี ข้อควรระวังในการออกกำลังกายของผู้ป่วยโรคหัวใจ มีดังนี้   

1. ผู้ที่ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจไม่ควรออกกำลังที่เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อร่างกายส่วนบน เช่น อก แขน   

2. ถ้ามีอาการผิดปกติขณะออกกำลัง ควรหยุดพัก เช่น อาการเหนื่อยมากผิดปกติ อาการวิงเวียน เกือบเป็นลม อาการเจ็บจุกแน่นหน้าอก อาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็วมากจนมือเท้าเย็น หยุดพักแล้วชีพจรไม่ช้าลง หากพบอาการเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์   

3. การหยุดพักการออกกำลังกายไม่ควรหยุดทันที ควรผ่อนความเร็วลงช้าๆ แล้วจึงหยุด   

4. ไม่ควรอาบน้ำเย็นหลังออกกำลังกายทันที จะทำให้หัวใจทำงานมากขึ้น กระตุ้น ให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือเจ็บแน่นหน้าอกได้   

5. ไม่ควรออกกำลังในสถานที่อากาศร้อนอบอ้าว ซึ่งทำให้เสียเหงื่อมาก ร่างกายขาดน้ำ หัวใจจะต้องทำงานหนักขึ้น   

โรคเบาหวาน    
ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานควรงดการแข่งขันกีฬา หรือการเกร็งกล้ามเนื้อโดยไม่เคลื่อนไหว การออกกำลังกายที่เหมาะสมคือ การแกว่งแขน การเดิน การรำมวยจีน วิ่งเหยาะ เดินเร็ว ขี่จักรยานช้าๆ ว่ายน้ำช้าๆ ข้อควรระวังในการออกกำลังกายของผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีดังนี้    

1. ต้องมีการป้องกันภาวะน้ำตาลในโลหิตต่ำระหว่าง และหลังจากการออกกำลังกาย    

2. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายโดยใช้กล้ามเนื้อบริเวณที่ฉีดอินซูลินอย่างน้อย 1 ชั่วโมง หลังฉีด เพราะจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิต เร็วเกินไป   

3. อย่าออกกำลังในช่วงที่อินซูลินออกฤทธิ์สูงสุด   

4. ผู้ป่วยโรคเบาหวานก่อนออกกำลังครั้งแรก จะต้องมีการคัดกรองก่อน    

โรคความดันโลหิตสูง    
กีฬาและการออกกำลังสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงควรเป็นการออกกำลังชนิดแอโรบิค ทำต่อเนื่องกันอย่างน้อย 20 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้ง เช่น การเดินเร็ว วิ่งเหยาะ ถีบจักรยาน ว่ายน้ำ เต้นแอโรบิค ข้อควรระวังในการออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง มีดังนี้    

1. ผู้ป่วยที่รับประทานยาขับปัสสาวะ ควรดื่มน้ำและเกลือแร่ทดแทนส่วนที่ถูกขับจากร่างกาย ป้องกัน ภาวะกล้ามเนื้อสลายจากการสูญเสียโพแทสเซียม

2. ผู้ป่วยที่รับประทานยา beta - blocker จะมีผลต่อสมรรถภาพกล้ามเนื้อ อ่อนเปลี้ย เหนื่อยง่าย เล่นกีฬาได้ไม่ทน ยาจะยับยั้งไม่ให้มีการสลายตัวของไขมันไปเป็นกรดไขมันอิสระ จึงควรดื่มน้ำทดแทนให้มาก อีกทั้งควรระวังมีอาการหน้ามืด หรือเป็นลม เมื่อเริ่มกินยาครั้งแรก   

ถ้าเลือกชนิดการออกกำลังกายให้เหมาะสม และออกกำลังกายสม่ำเสมอ ก็มีประโยชน์มากมาย และช่วยบรรเทาอาการของโรค รวมถึงโรคที่เป็นได้อย่างมาก

 

 

 

ความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายในผู้สูงอายุ ที่มีผลต่อการเกิดโรคและการรักษา

    



เหตุใดผู้สูงอายุจึงเกิดเจ็บป่วยได้ง่าย หรือรักษาโรคได้ยากกว่าในวัยเด็กหรือหนุ่มสาว นั่นก็เป็นเพราะสภาพร่างกาย และความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั่นเอง

สาเหตุที่ผู้สูงอายุจะเกิดโรคต่างๆ และรักษาให้หายได้ยากกว่าในช่วงวัยอื่น มีดังนี้

1. ร่างกายเสื่อมถอยลงเนื่องจากความชรา
เราคงทราบกันดีว่า เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยสูงอายุ ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงของระบบการทำงานของอวัยวะที่ได้รับผลกระทบจากความชรา เช่น การทำงานของไตโดยพบว่า ความสามารถในการกรองของเสียออกจากร่างกายจะสูงที่สุดเมื่ออายุ 30 ปี จากนั้นจะลดลงราว 1% ต่อปีตามอายุที่เพิ่มขึ้น แต่ละระบบจะมีความเสื่อมเนื่องจากความชราไม่เท่ากัน

ร่างกายของคนเราเมื่ออายุ 30 ปี ร่างกายก็จะเปลี่ยนจากการพัฒนามาเป็นการเสื่อมถอยลงในช่วงนี้นี่เอง ดังนั้น การดูแลตนเองมาเป็นอย่างดี จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก

2. ตอบสนองต่อความเจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น
ผลจากสมรรถภาพทางร่างกายเสื่อมถอยลงจากความชรา ทำให้การตอบสนองของร่างกายต่อความเจ็บป่วยต่างไปจากผู้ป่วยอายุน้อยกว่าอย่างชัดเจน เช่น เมื่อมีการติดเชื้อ อาจจะไม่มีไข้ เพราะการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันลดลง แต่อาจจะมีอาการอย่างอื่นแทนเช่น ซึม อุจจาระปัสสาวะราด เป็นต้น เพราะฉะนั้นจึงต้องอาศัยการตรวจทางปฏิบัติการมากกว่าผู้ป่วยอายุน้อยกว่า ช่วยบ่งชี้ความเจ็บป่วยในแต่ละอวัยวะ ซึ่งซ่อนเร้นอยู่

3. การมีพยาธิสภาพหลายๆ อย่างร่วมกันในเวลาเดียวกัน
ผลจากความชราทำให้แต่ละอวัยวะทำงานลดน้อยลง ผนวกกับอุบัติการณ์ของโรคต่างๆสะสมมากขึ้น เมื่ออายุมากขึ้น ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีพยาธิสภาพหลายๆ อย่างเกิดขึ้นในเวลาเดียวกันเมื่อเข้าสู่วัยชรา ผลของความเจ็บป่วยในแต่ละอวัยวะส่งผลให้สุขภาพโดยรวมทรุดโทรมลงเป็นทวีคูณมักพบว่าการรักษาโรคใดโรคหนึ่งไม่ว่าจะเป็นทางยาหรือการผ่าตัด มักส่งผลให้อีกโรคหนึ่งมีอาการเลวลงได้อีกด้วย
นอกจากนี้แล้ว สาเหตุอื่นๆ ที่ส่งผลให้ในวัยสูงอายุเกิดเจ็บป่วย และรักษายาก ยังเกิดขึ้นได้จากการได้รับยาหลายอย่างในเวลาเดียวกันอีกด้วย

สิ่งที่ช่วยบรรเทา และทำให้สุขภาพร่างกายดีขึ้นได้ ก็คือการดูแลตนเองตั้งแต่เนิ่นๆ หมั่นทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงการรับความเสื่อมเข้าร่างกาย หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ และมีสุขภาพจิตที่แจ่มใส ก็จะช่วยต้านการเกิดโรค และการเจ็บป่วยได้

 

 

 

 

เป็นเนื้อหาของบทความหรือสินค้าโดยละเอียด

กรุณาใส่ข้อความ …