การตลาดออนไลน์ครบวงจร 2021

รู้จักแพลตฟอร์มการตลาดออนไลน์ครบวงจร ตัวช่วย SME เจาะตลาดแบบ Personalized

 

Main Idea
 

  • จากพฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบันที่มีรูปแบบความต้องการหลากหลายขึ้น ส่งผลให้การทำตลาดในรูปแบบ Mass อาจไม่ได้ผลอีกต่อไป แต่ ‘Personalized Marketing’ หรือการทำตลาดเฉพาะบุคคลกำลังเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจในขณะนี้
  • แต่ด้วยช่องทางการติดต่อสื่อสารที่มีมากขึ้นในโลกออนไลน์ การจะเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อมาวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ได้นั้น อาจต้องใช้การลงทุนที่ค่อนข้างสูงในการสร้างเครื่องมือและระบบขึ้นมา ซึ่งเป็นเรื่องยากสำหรับ SME
  • Ready Planet ผู้ให้บริการเว็บไซต์สำเร็จรูปและดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง จึงได้คิดค้นแพลตฟอร์มครบวงจรสำเร็จรูป ในราคาเริ่มต้นแค่พันกว่าบาท เพื่อช่วยให้ SME สามารถเข้าถึงข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล จนนำมาสู่การทำตลาดแบบ ‘Personalized Marketing’ ที่มีประสิทธิภาพได้ในที่สุด



     วันนี้การใช้ชีวิตและพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป จากออฟไลน์ดำเนินมาสู่ออนไลน์และดิจิทัล การตลาดแบบ Mass ที่เคยใช้เงินหว่าน เพื่อให้ได้ลูกค้าจำนวนมากๆ อาจใช้ไม่ได้ผลอีกต่อไปในโลกยุคนี้ ทำให้หลายธุรกิจต่างหันมาปรับกลยุทธ์ เปลี่ยนวิธีการในการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายใหม่ ‘Personalized Marketing’ การตลาดเฉพาะบุคคล คือ สิ่งที่จะมาชดเชย หรือทำให้เข้าถึงลูกค้าได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ด้วยข้อมูลจำนวนมากที่มีอยู่ในโลกออนไลน์ การทำตลาดจากหลายช่องทาง จึงต้องใช้เครื่องมือ ระบบจัดเก็บ การวิเคราะห์ข้อมูลที่แม่นยำ ซึ่งค่อนข้างต้องใช้เงินทุนมหาศาล ซึ่งนี่ไม่ใช่เรื่องง่ายที่ผู้ประกอบการรายเล็กๆ อย่าง SME จะสามารถทำขึ้นมาเองได้ จึงอาจทำให้พลาดโอกาสดีๆ ในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายตัวจริง รวมถึงตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงจุด

 

     จากปัญหาดังกล่าวทำให้ ReadyPlanet  ผู้ให้บริการเว็บไซต์สำเร็จรูปและดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งมากว่า 19 ปี ได้คิดค้นพัฒนาแพลตฟอร์มการตลาดดิจิทัลครบวงจรที่ชื่อ ‘ReadyPlanet  Marketing Platform’ หรือ RMP ขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วย SME ให้สามารถทำตลาดแบบเฉพาะบุคคล หรือ Personalized Marketing ได้ โดยพัฒนาขึ้นมาในรูปแบบของสมาร์ทเว็บไซต์สำเร็จรูป ที่นอกจากจะทำหน้าที่เหมือนเว็บไซต์ทั่วไปแล้ว ยังเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บบันทึกข้อมูลและวิเคราะห์ เพื่อให้ SME สามารถนำไปใช้กำหนดกลยุทธ์ วางแผนการตลาด เพิ่มช่องทางการติดต่อที่ง่ายและสะดวกต่อลูกค้าอีกด้วย


     “เทรนด์การตลาดอย่างหนึ่งที่กำลังมาและเป็นที่สนใจของธุรกิจใหญ่ๆ ระดับโลก คือ การทำตลาดแบบ Personalized Marketing ซึ่งเชื่อกันว่าจะสามารถช่วยลดต้นทุนการหาลูกค้าตัวจริงให้กับแบรนด์ได้มากถึง 50 เปอร์เซ็นต์ และเพิ่มยอดขายได้มากกว่า 5 -15 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว (สถิติจาก McKinsey) เพราะผู้บริโภคทุกวันนี้ไม่ได้อยู่แค่โลกออฟไลน์เหมือนแต่ก่อน การทำตลาดแบบ Mass เพื่อหว่านหาลูกค้าเป้าหมาย จึงอาจไม่ได้ผลมากนัก เพราะผู้บริโภคได้ย้ายมาอยู่ในโลกออนไลน์มากขึ้น รวมถึงมีพฤติกรรมที่มีรูปแบบหลากหลายขึ้น


     การทำตลาดในยุคนี้จึงมีความยากและ  ท้าทายมากกว่า แต่การจะทำตลาดแบบ Personalized Marketing ได้ ต้องใช้เงินทุนค่อนข้างมากเพื่อสร้างเครื่องมือและระบบในการเก็บรวบรวมข้อมูลลูกค้าจากช่องทางต่างๆ เช่น ไลน์ เฟซบุ๊ก มาร์เก็ตเพลส เว็บไซต์ ฯลฯ เพื่อนำมาวิเคราะห์และใช้วางแผนการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนใหญ่จึงทำกันเฉพาะแค่ในองค์กรใหญ่ๆ เท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องยากที่ SME จะเข้าถึงได้ จากปัญหาดังกล่าวจึงทำให้เราพยายามคิดค้นรูปแบบของแพลตฟอร์มที่จะมาช่วยปลดล็อก SME ให้ สามารถทำงานได้ง่ายขึ้น ในราคาที่จับต้องได้ เพราะลูกค้าของเราในวันนี้กว่า 90 เปอร์เซ็นต์ คือ SME ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 19,000 ราย”

     
     ทรงยศ คันธมานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เรดดี้ แพลนเน็ต จำกัด กล่าวถึงที่มาของการสร้างมาร์เก็ตติ้งแพลตฟอร์มเพื่อ SME ในครั้งนี้

 

     เขาอธิบายเพิ่มเติมว่ารูปแบบการทำงานของ ReadyPlanet  Marketing Platform จะเริ่มต้นตั้งแต่ 1. Reach - การนำเสนอสินค้าไปยังกลุ่มเป้าหมาย โดยผ่านการโฆษณาบนสื่อออนไลน์ต่างๆ ด้วยฟีเจอร์ที่เรียกว่า R-Ad โดยสามารถเชื่อมโยงกับช่องทางตลาดออนไลน์ต่างๆ อาทิ เฟซบุ๊ก กูเกิ้ล ได้ และยังช่วยเก็บวิเคราะห์ข้อมูล ช่วยให้ทำการตลาดได้อย่างมีทิศทางที่แม่นยำมากขึ้น 2. Convert - การเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายให้กลายเป็นลูกค้า โดยเครื่องมือส่งเสริมการขาย เช่น R Web, R Shop, R Widget และ R booking 3. Retain – การรักษาฐานลูกค้าเดิมไว้ โดยผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า R CRM เพื่อบริหารการขายและจัดการฐานลูกค้า รวมถึงสร้าง Database เพื่อเก็บข้อมูลลูกค้าเชิงลึกได้
               

     “สิ่งที่เรากำลังจะบอกกับลูกค้า คือ เขาจะไม่ได้แค่เว็บไซต์ แต่ยังได้ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง แพลตฟอร์มทั้งหมดไปด้วย ซึ่งการทำตลาดของ SME ส่วนใหญ่ ยังติดแค่ทำอย่างไรถึงจะหาลูกค้าได้ ทำอย่างไรลูกค้าจึงจะซื้อสินค้า ความท้าทายที่มากกว่า คือทำอย่างไรให้เขาซื้อซ้ำ ซึ่งการจะทำให้เกิดทั้ง 3 ข้อนี้ได้ อาจต้องใช้การลงทุนเครื่องมือและระบบที่สูง โดย ปัญหาของการทำตลาดของ SME ในทุกวันนี้มีอยู่ 3 ข้อ คือ 1.ไม่มีเงินทุน เพื่อนำมาลงทุนในเครื่องมือและระบบที่มีประสิทธิภาพได้ 2.การทำตลาดอย่างไร้ทิศทางและไม่สามารถวัดผลได้ และ 3.ข้อมูลที่ถูกแยกกระจายออกไปในแต่ละแพลตฟอร์ม ทำให้ไม่สามารถนำมารวบรวมวิเคราะห์ออกมาเพื่อใช้งานได้ แต่แพลตฟอร์มนี้สามารถเข้ามาแก้ปัญหาให้ SME ได้  โดยพัฒนาขึ้นมาจากวิศวกรคนไทย ทำให้สามารถรองรับการใช้งานแก่ผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะ ในราคาที่ไม่สูงมาก ไม่ต้องเสียเงินจ้างทำระบบแพงๆ ก็สามารถได้เครื่องมือไปใช้เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อนำไปวางแผนการทำธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ แม่นยำ และเก่งขึ้นได้” ทรงยศกล่าวในตอนท้าย

 

5 เทคนิค Online Marketing

ทำเรื่อง “ง่าย” ให้กลายเป็น “ทีเด็ด” เพิ่มยอดขาย พิชิตใจลูกค้า

 

 

      หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมบางธุรกิจมียอดขายผ่านช่องทางออนไลน์สูงเหลือเกิน แต่พอมองย้อนกลับมาที่ตัวเองแล้วก็ไม่ได้มีอะไรต่างกับคู่แข่งมากมาย ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพ การบริการ การตอบคำถาม การดูแลรับประกันสินค้า ฯลฯ แต่รู้หรือไม่ว่าจริงๆ แล้วแบรนด์ที่ขายดีเหล่านั้น มีเทคนิคดีๆ ที่ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตลาดออนไลน์พร้อมบูสต์ยอดขายอยู่ตลอดเวลา


     ใครไม่อยากพลาดไม่อยากตกขบวน มาดูเทคนิคที่ว่านี้กัน
 


1. Content ที่ตอบคำถามได้ 



      ไม่ว่าเราจะขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ประเภทใดก็ตาม ทั้ง Facebook, Instagram, Lazada, Shopee สิ่งหนึ่งที่ต้องชัดเจนคือ Content ต้องสามารถบอกได้ว่าผลิตภัณฑ์ของเราคืออะไร มีประโยชน์หรือแก้ปัญหาอะไรให้กับกลุ่มเป้าหมายได้ หากเรานำเสนอแค่รูปภาพ โดยไม่มีคำบรรยายและปล่อยให้ลูกค้าหาคำตอบเอง หรือนำเสนอในรูปแบบวิดีโอ แต่ไม่สามารถตอบคำถามหรือแสดงความชัดเจนหรือจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ได้ ลูกค้าก็คงหันไปหาแบรนด์คู่แข่งที่มีข้อมูลและเนื้อหาที่ชัดเจนกว่าแน่นอน

 

 

2. มี Call to Action ที่ดี

 

      Call to Action ก็คือ คำที่กระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจ ซึ่งโดยปกติมักใช้กับเว็บไซต์ เช่น สร้าง Content ขึ้นมาว่า “ด่วน ภายใน 24 ชั่วโมงเท่านั้น” “ราคาพิเศษสำหรับลูกค้า 100 คนแรก” หรือเป็นแถบสำหรับการคลิกสมัครสมาชิก (Subscribe) เพื่อรับข่าวสารและสิทธิพิเศษ แต่ถ้าเป็นในโซเชียลมีเดีย เราสามารถใช้ Call to action ด้วยการโพสต์วิดีโอลง Facebook พร้อมแทรก Link เว็บไซต์ที่ด้านล่างวิดีโอ เพื่อให้เข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติม จอง หรือซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์โดยตรงได้


      หรืออย่างง่ายก็สามารถใช้แฮชแท็ก เพื่อกระตุ้นการตัดสินใจได้เช่นกัน เช่น #ราคาพิเศษจำนวนจำกัด หรือ #ส่งฟรีทั่วประเทศ ชิ้นเดียวก็ส่ง หรือ #ชอบกดLike ใช่กด Share เพื่อกระตุ้นการมีส่วนร่วมกับกลุ่มเป้าหมาย สร้างการรับรู้แบรนด์ และเพิ่มโอกาสขายในอนาคต

 

 

3. เน้น Social Proof



      ถ้าเราจะซื้อของสักชิ้นหนึ่ง เราจะใช้อะไรประกอบการตัดสินใจบ้าง หนึ่งในนั้นคงเป็นคนรอบข้าง กับคนที่เคยใช้ผลิตภัณฑ์ / บริการนั้นๆ มาก่อน ถ้าคนเหล่านั้นบอกว่าดี เราย่อมมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น ดังนั้น การนำรีวิวเชิงบวกของลูกค้า และการพูดคุยส่วนตัวทาง Line หรือ Chat มาโพสต์ย่อมเป็น Social Proof ที่ดี ยิ่งถ้ามีดารา เพจใหญ่ เน็ตไอดอลมาโฆษณาให้หรือพูดถึงผลิตภัณฑ์ / บริการของเราให้แบบไม่คิดเงิน ยิ่งต้องบอกว่าโชคลาภและโอกาสหล่นมาถึงประตูบ้านเลยทีเดียว

 

 

4. พัฒนา CX

 

      Customer Experience (CX) ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการซื้อสินค้าออนไลน์ที่เราไม่มีโอกาสจับต้อง ลอง และสัมผัส นอกจากจะจ่ายเงินไปก่อนแล้วรอสินค้ามาส่ง ดังนั้น ต่อให้เรามีผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุด แต่ถ้าขั้นตอนการสั่งซื้อซับซ้อน ชำระเงินยาก รอเจ้าของร้านตอบแต่ละคำถามนานเหลือเกิน มองหา Chatbot ก็ไม่มี รับประกันได้เลยว่าลูกค้าส่ายหน้าหนีกันหมดแน่นอน

 

 

5. ความเร็วของเว็บไซต์

 

      ในส่วนของแบรนด์ใหญ่ที่มีเว็บไซต์ ต้องบอกว่าความเร็วในการแสดงผลของเว็บไซต์มีความสำคัญมากๆ เพราะโดยปกติแล้วเมื่อเรากดเปิดเว็บไซต์ หากเว็บนั้นๆ โหลดช้า เรามักจะโทษเว็บไซต์มากกว่าอินเทอร์เน็ตหรือสัญญาณ wifi ซึ่งผลสำรวจพบว่าผู้ใช้งานกว่า 40 เปอร์เซ็นต์จะออกจากเว็บไซต์ที่ไม่ตอบสนองภายใน 3 วินาที และคนกลุ่มนั้นอาจไม่กลับไปหาแบรนด์นั้นๆ อีกเลย เพราะดูไม่มีความเป็นมืออาชีพนั่นเอง

 

 

 

อยากให้เว็บไซต์ดาวน์โหลดเร็วขึ้น เพิ่มอันดับ SEO ทำอย่างไรดี

 

การทำ SEO จะทำให้เว็บไซต์ถูกค้นเจอง่ายจาก Google สร้างความเชื่อมั่น และเพิ่มยอดการขายได้ ซึ่งนอกจาการปรับโครงสร้างภายในเว็บไซต์และการทำลิงก์เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ภายนอกแล้ว การแก้ไขความบกพร่องด้านความเร็วในการดาวน์โหลดข้อมูล ยังสำคัญต่อผลการประเมิน SEO ด้วย

เทคนิคในการเพิ่มความเร็วของเว็บไซต์ที่ทำให้อันดับ SEO สูงขึ้นได้

 

1. การเลือก hosting สำหรับการเปิดเว็บไซต์

การเปิดเว็บไซต์ออนไลน์ เราจำเป็นต้องเช่าพื้นที่ทรัพยากรและมีผู้จัดการงานหลังบ้าน ซึ่งบริษัทที่ให้บริการ hosting มีอยู่หลายรูปแบบ หากเลือกแบบ shared hosting จะมีค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด แต่จำเป็นต้องมีการใช้ทรัพยากรในเชิงเทคนิคร่วมกัน อาจจะทำให้ประสบปัญหาการดาวน์โหลดข้อมูลต่าง ๆ ล่าช้าได้ กูรูการตลาดแนะนำให้เลือกโฮสติ้งแบบมืออาชีพ เช่น WP Engine และ Cloudways ซึ่งเป็น hosting ที่มีระบบที่มีประสิทธิภาพและมีผู้เชี่ยวชาญดูแล Server ให้อย่างดี

 

2. การเลือกติดตั้งปลั๊กอิน

การทำเว็บไซต์ SEO จะใช้โปรแกรม WordPress ในการวิเคราะห์และพัฒนาคุณภาพขององค์ประกอบต่าง ๆ ในเว็บไซต์ ซึ่งหากมีการดาวน์โหลดปลั๊กอินมาใช้งานคู่กัน จะเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการมากขึ้นได้ แต่ก็ไม่ควรดาวน์โหลดปลั๊กอินเกิน 10 รายการ เพราะจะทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากรของเครื่องและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายด้วย ตัวอย่างปลั๊กอินที่กูรูด้านการตลาดแนะนำ คือ คือ Yoast SEO สำหรับการวิเคราะห์ keyword และคุณภาพของบทความ Easy Social share buttons สำหรับการนำเสนอบทความลงไปในแพลตฟอร์มโซเชียลหลากหลายแบบพร้อมกัน เป็นต้น

 

3. การปรับขนาดและรายละเอียดรูปภาพ

การอัพเดทรูปภาพที่มีขนาดใหญ่มากเกินจำเป็น นอกจากจะเปลืองทรัพยากรในระบบทำให้ดาวน์โหลดช้าแล้ว ยังส่งผลลบต่อความประทับใจของผู้เข้ามาเยี่ยมชม website ด้วย แม้จะมีรูปถ่ายที่มีการกำหนดค่าความละเอียดสูง แต่ก็สามารถใช้โปรแกรมปรับให้รูปมีไฟล์เล็กลง ลดความละเอียดได้ เช่น โปรแกรม photoscape และ pixlr Express ซึ่งทั้งสองโปรแกรมมีข้อดี คือ ไม่มีการคิดค่าใช้จ่ายในการใช้งาน การลดขนาดรูปให้มีไฟล์เล็กกว่า 200 KB จะช่วยให้ใช้เวลาในการดาวน์โหลดข้อมูลต่าง ๆ น้อยลงอย่างมาก และทำให้อันดับ SEO เพิ่มขึ้นจากความนิยมใช้งานของกลุ่มเป้าหมาย

 

จะเห็นได้ว่าเทคนิคที่กล่าวมานั้น สามารถช่วยให้ระยะเวลาในการดาวน์โหลดข้อมูลน้อยลงได้ หากทำร่วมกันก็จะยิ่งเห็นผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งการเพิ่มอันดับการสืบค้นจาก Google ในระบบ SEO ส่งผลโดยตรงต่อความเชื่อมั่นของผู้ใช้งาน จึงเพิ่มค่าปริมาณผู้ชมที่เข้ามาหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการต่าง ๆ บ่อยขึ้น ทำให้แบรนด์หรือเว็บไซต์เป็นที่จดจำได้เร็ว ส่งผลให้มียอดขายสินค้าและบริการที่สูงขึ้นตามมาในที่สุด